กรกฎาคม 27, 2024

4 กฎเหล็ก เจ้าของขายตรงต้องรู้ ยื่นขอใบสคบ.ให้ได้ไว!!

กดแชร์ได้เลยจ้า

าทีนี้กระแสของธุรกิจเครือข่ายเรียกได้ว่า กำลังขึ้น (หม้อ) ส่วนหนึ่งมาจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ชะลอตัว และการระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมถึงปัจจัยเรื่องการปิดกิจการของโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการเลิกจ้างงานเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้คนเริ่มหันมาทำอาชีพสำรองเพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่คนส่วนใหญ่คิดว่างานประจำมั่นคง แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น ทำให้คนจำนวนมากเริ่มไม่มีความเชื่อมั่นกับแนวคิดดังกล่าวแล้ว

จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น จึงส่งผลดีต่อธุรกิจขายของออนไลน์ และธุรกิจขายตรง เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากเดิมจะซื้อสินค้าต้องมาช้อปปิ้งที่ห้างสรรพสินค้า แต่ปัจจุบันช้อปปิ้งผ่านออนไลน์กันมากขึ้น

ปัจจุบันมีผู้ประกอบการมายื่นขอจดทะเบียน เพื่อเปิดดำเนินธุรกิจขายตรง และตลาดแบบตรง เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอัพเดทรายชื่อผู้ประกอบการทั้งธุรกิจขายตรง และตลาดแบบตรง จากเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ.

โดยข้อมูล ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2563 มี ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงจำนวน 515 บริษัท และมี ผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงจำนวน 544 ราย ยังไม่นับรวมบริษัทที่ผ่านการอนุมัติแล้ว หลังวันที่ 16 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา และอยู่ระหว่างรอการเซ็นอนุมัติจากเลขาธิการสคบ.อีกจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีผู้ประกอบการจำนวนมากที่ยื่นเอกสารเข้ามาเพื่อขอใบอนุญาตจากสคบ. แต่ก็มีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อย ติดกฎเหล็กที่ผู้ประกอบการหลายคนยังทราบ ทำให้ยังไม่ผ่านการเซ็นอนุมัติรับรองจากเลขาฯ สคบ.

กฎเหล็กที่ว่านั้นประกอบด้วย (ไม่นับรวมเงื่อนไขหรือข้อกฎหมายที่กำหนดไว้อื่นๆ อีก)

1.ห้ามจ่ายผลตอบแทนเป็นแบบรายวัน เพราะสคบ.ตั้งข้อสังเกตว่า การจ่ายรายวันหมิ่นเหม่ต่อการหลายพันธุ์เป็นแชร์ลูกโซ่

2.ห้ามนักธุรกิจเปิดได้หลายรหัส เพราะสุ่มเสี่ยงต่อการกลายพันธุ์เป็นแชร์ลูกโซ่ เนื่องจากสามารถแพ็คลงพร้อมกันได้

3.ไม่สามารถซื้อสะสมหรือซื้อปิดตำแหน่งได้ เพราะเป็นการซื้อตำแหน่ง ไม่ได้เกิดจากการสร้างสายงาน ดังนั้นถ้าจะขึ้นตำแหน่งได้จะต้องมีองค์กรหรือทีมงานภายใต้องค์กซ้าย-ขวาอย่างน้อยข้างละ 1 คน

4.ห้ามผู้ประกอบการจ่ายค่าคอมมิชชั่นเกินเดือนละ 2 ครั้ง ถ้ามากกว่านี้ถือว่าผิดกฎของสคบ.และไม่อนุมัติใบอนุญาต

            เมื่อผู้ประกอบการปรับเงื่อนไขตามกฎเหล็กดังกล่าวข้างต้นแล้ว สิ่งที่จะต้องทำในลำดับถัดไป นั้นก็คือ ขั้นตอนการยื่นขอใบอนุญาตสคบ. (ตามกฎหมายไม่เกิน 45 วัน) แต่ผู้ประกอบการบางคนอาจจะเลยไปถึง 60-90 วัน สาเหตุที่เป็นเช่นกัน เพราะติดในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง

            โดยลำดับการเดินของเอกสารของแต่ละบริษัท จะไปทีละขั้นตอน ได้แก่

1. จุดเริ่มต้น ต้องการกรอกเอกสารรายละเอียด และการเขียนโมเดลธุรกิจให้เข้าใจง่าย เปรียบเหมือนการเขียนเรียงความ เช่น แผนการจ่ายผลตอบแทน จ่ายกี่เปอร์เซ็นต์ จ่ายแบบไหน (บางรายเขียนไม่เข้าใจต้องแก้แล้ว แก้อีก ทำให้เสียเวลา และต้องใช้เวลานานกว่าจะผ่าน)

2. เมื่อผ่านขั้นตอนแรกมาได้ เอกสารจะถูกส่งไปให้กองขายตรง และตลาดแบบตรงตรวจสอบ หากไม่มีอะไรแก้ไข ก็จะได้รับใบสีชมพู (เลขที่รับเรื่อง ไม่ใช่ใบอนุญาต)

3. จากนั้นเรื่องจะถูกส่งไปยังหัวหน้ากองขายตรง และตลาดแบบตรงตรวจสอบอีกครั้ง

4. เมื่อผ่านขั้นตอนที่ 3 แล้ว ผู้อำนวยการกองขายตรง และตลาดแบบตรงจะตรวจสอบอีกครั้ง หากไม่มีอะไรต้องแก้ไขก็จะเซ็นรับรอง

5. เมื่อผอ.กองขายตรงและตลาดแบบตรงเซ็นตรวจสอบแล้ว เอกสารจะถูกส่งไปยังท่านรองเลขาฯ สคบ. ที่รับผิดชอบกองขายตรง และตลาดแบบตรง เซ็นด้านล่าง เพื่อรับรองเอกสาร

6. เอกสารทั้งหมดจะถูกส่งมาหน้าห้องท่านเลขาฯ สคบ. เพื่อตรวจสอบ ก่อนจะถูกนำไปวางไว้บนโต๊ะท่านเลขาฯ สคบ. เพื่อให้ท่านเซ็นอนุมัติต่อไป

และ 7. เมื่อผู้ประกอบการได้รับใบอนุญาตสคบ.จากนายทะเบียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถเริ่มดำเนินธุรกิจขายตรง และตลาดแบบตรงถูกต้องตามกฎหมายได้

 สำหรับผู้ประกอบการที่เปิดดำเนินธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง ขณะยังไม่ได้ผ่านการรับรองจากสคบ.ในฐานะเป็นนายทะเบียนนั้น มีโทษตามมาตรา 47 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 20 (ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบธุรกิจขายตรง เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงตามพระราชบัญญัตินี้) หรือมาตรา 27 (ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงตามพระราชบัญญัตินี้) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่


กดแชร์ได้เลยจ้า